วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พายุทอร์นาโด (Tornadoes)


        
ทอร์นาโด มักจะเกิดในลักษณะรูปทรงกรวยทอร์นาโด (tornado อ่านว่า ทอร์เนโด) เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยสุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้

พายุทอร์นาโด(Tornadoes)
        ในบรรดาพายุร้ายแล้วพายุทอร์นาโดเป็นพายุที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วจะทำลายเคหสถานบ้านช่อง ตึก สะพาน ต้นไม้ เรือ และแม้กระทั่งรถไฟให้พินาศเสียหายได้ ชีวิตของคนจำนวนหมื่นและทรัพย์สินจำนวนล้าน เคยถูกพายุนั้กระหน่ำทำลายมาแล้วมากต่อมาก พายุร้ายนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ทวีปอเมริกาเหนือ และบริเวณฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ด้านมหาสมุทรอัตลันติค

การเคลื่อนที่ของพายุทอร์นาโด
       คำว่า"ทอร์นาโด" เป็นคำสเปน แปลว่า หมุนเป็นเกลียว เพราะพายุนี้เป็นพายุหมุนมีเส้นผ่าศูนย์กลางของการหมุนแคบ ๆ แต่มีอัตราเร็วของการหมุนถึงชั่วโมงละ 300-500ไมล์ ความเร็วของการหมุนนี้ ถ้าผ่านไปในมหาสมุทรหรือลำแม่น้ำจะหอบเอาน้ำขึ้นเป็นลำไปในอากาศเกิดคลื่นลมร้ายแรงสามารถยกเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ขึ้นไปติดอยู่บนฝั่งลึกเข้าไปได้เป็นไมล์ ๆถ้าผ่านไปบนบกก็จะทำลายสิ่งกีดขวางทางเดินแหลกลาญไปตลอดระยะทางการเคลื่อนที่ของพายุนี้ มีอัตราความเร็วราว 50 ไมล์ ถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง

สาเหตุที่ทำให้เกิดพายุทอร์นาโด
         เนื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่อบอุ่นกว่า จึงทำให้เกิดกการถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัดและเป็นไปได้โดยรวดเร็วใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลมหมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็นเกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการหมุนค่อย ๆ ช้าลง แต่กระนั้นก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไปได้อย่างง่ายดาย
         ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้ โดยทอร์นาโดสามารถส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ
ระดับความรุนแรง
  • ระดับ F0 (40-72 mph) : ความเสียหายน้อย (light damage) เช่น กิ่งไม้หัก ต้นไม้รากตื้นๆ โค่นล้ม ป้ายต่างๆ เสียหาย
  • ระดับ F1 (73-112 mph) : ความเสียหายพอประมาณ (moderate damage) เช่น หลังคาบ้านเริ่มหลุด รถถูกพัดออกข้างทาง
  • ระดับ F2 (113-157 mph) : ความเสียหายมีนัยสำคัญ (significant damage) เช่น ต้นไม้ใหญ่ถอนราก สิ่งของปลิวว่อน
  • ระดับ F3 (158-206 mph) : ความเสียหายหนักหนาสาหัส (severe damage) เช่น หลังคาบ้านที่แข็งแรงหลุดออก รถไฟพลิกคว่ำ ต้นไม้ในป่าหลุดออกเกือบหมด รถหนักๆ ลอยขึ้นจากพื้น
  • ระดับ F4 (207-260 mph) : ความเสียหายทำลายล้าง (devastating damage) เช่น บ้านที่ปลูกอย่างดีหลุดจากพื้น โครงสร้างที่มีฐานรากไม่แข็งแรงหลุดออก สิ่งของหนักๆ ปลิวว่อน
  • ระดับ F5 (261-318 mph) : ความเสียหายเหลือเชื่อ (incredible damage) บ้านที่หลุดออกมาถูกฉีกกระจายเป็นชิ้นๆ ของชิ้นใหญ่ๆ หนักมากๆ อาจลอยไปไกลได้ร่วม 100 เมตร ต้นไม้ใหญ่หักโค่นหมดไม่มีเหลือ
           ส่วนภาษาพูดอาจบอกแบบคร่าวๆ แค่ 3 ระดับ ว่า อ่อน (weak) คือ F0 และ F1, แรง (strong) คือ F2 และ F3 และรุนแรง (violent) คือ F4 และ F5 ดังนั้น เวลาได้ยินข่าวทอร์นาโด ก็เดาได้เลยว่าอย่างน้อยคงต้องระดับตั้งแต่ F3 ขึ้นไป แต่ถ้าถึง F5 ละก็จะเป็นข่าวใหญ่ช็อกโลก

คลิปวิดีโอ พายุทอร์นาโดถล่มสหรัฐ


ขอบคุณข้อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น